จริง ๆ แล้วเลซิตินนั้นร่างกายมนุษย์สามารถผลิตขึ้นได้เองที่ "ตับ" โดยสร้างจากสารตั้งต้นอย่างเช่น กรดไขมันจำเป็น และสารสำคัญอื่น ๆ อย่าง โคลีน (Choline) และอินอสซิทอล (Inositol) ถ้าหากร่างกายได้รับสารอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ ก็จะส่งผลให้
ร่างกายสร้างสารเลซิตินได้ไม่เพียงพอ
เลซิติน (Lecithin) เป็นสารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็น ฟอสฟอรัส และวิตามินบี 2 ตัว ได้แก่ โคลีน (Choline) และอินอสซิทอล (Inositol) เลซิตินพบได้ทั่วไปทั่วร่างกาย เนื่องจากเป็นส่วนประกอบหนึ่งของเยื่อหุ้มเซลล์ แต่จะพบเลซิตินปริมาณมากที่ "สมอง" ถึง 30% ซึ่งเลซิตินมีความจำเป็นต่อขบวนการต่าง ๆ ภายในเซลล์ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
แหล่งของเลซิติน (Lecithin)
เลซิติน (Lecithin) พบมากใน ไข่แดง ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี ซึ่งส่วนใหญ่อาหารที่มีเลซิตินสูง เช่น ไข่แดงก็มักจะมีคอเลสเตอรอลสูงด้วย ดังนั้นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเลซิตินจึงมักจะสกัดเลซิตินจากถั่วเหลือง เนื่องจากมีไขมันไม่อิ่มตัวสูง และปราศจากไขมันพวกคอเลสเตอรอลร่างกายของเราต้องการเลซิตินวันละ 6 กรัม สมัยก่อนไม่ค่อยพบว่ามีการขาดสารเลซิตินเท่าใดนัก แต่ในปัจจุบันคนเราหันมาดูแลรูปร่าง ดูแลสุขภาพ เริ่มเลือกในการกินมากขึ้น จึงนิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ทำให้อาจเกิดการขาดสารเลซิตินได้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน
เลซิติน...บำรุงสมอง เสริมความจำ ป้องกันความจำเสื่อม
โคลีน (Choline) ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเลซิติน (Lecithin) เป็นสารจำเป็นที่ร่างกายจะนำไปใช้เพื่อสร้างสารสื่อประสาท (Neurotransmitters) ที่เรียกว่า อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ซึ่งช่วยในการส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมองแต่ละเซลล์ และระหว่างสมองกับการสั่งงานไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และช่วยทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้สึกเพื่อให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของสมองเลซิตินยังถูกนำมาใช้ในการบำบัดรักษาโรคทางสมองต่าง ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน (ที่พบมากในคนสูงวัย จะมีอาการ มือสั่น การเดินการเคลื่อนไหวผิดปกติ ควบคุมการใช้กล้ามเนื้อลำบาก), โรคอัลไซเมอร์ (ความจำเสื่อม พบมากในคนสูงอายุเช่นกัน) ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์ประสาทขาด Acetylcholine
แต่หลาย ๆ คนที่คิดจะหวังพึ่งเลซิติน (Lecithin) เพื่อช่วยให้ความจำดีขึ้น ทำข้อสอบได้ดีขึ้น ต้องขอบอกตรงนี้ก่อนนะครับว่า เลซิติน (Lecithin) ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง ไม่ใช่ว่าพอจะสอบหรือต้องการใช้ความจำถึงจะกินนะครับ และก็ต้องอาศัยเทคนิคในการจำอื่น ๆ ช่วยอีกด้วย เพื่อประสิทธิภาพในการจำที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปนะครับ
เลซิติน...บำรุงตับ ลดการทำลายเซลล์ตับ
สารสำคัญที่พบในเลซิติน คือ ฟอสฟาทิดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของเซลล์ตับ มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันยา แอลกอฮอล์ สารเคมี สารพิษต่าง ๆ ที่มีส่วนในการทำลายตับ และยังช่วยบำรุงซ่อมแซมเซลล์ตับ และชะลอการสะสมไขมันในตับอีกด้วยเลซิติน...ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันโรคสมองและหัวใจขาดเลือด
คอเลสเตอรอล มีคุณสมบัติไม่ละลายในน้ำ จึงไม่ละลายในเลือดด้วยเช่นกัน ทำให้มันจับตัวกันเป็นก้อน ตกตะกอนอยู่ตามผนังเส้นเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดหลอดเลือดอุดตัน เกิดโรคสมองและหัวใจขาดเลือดได้ในที่สุด
Lecithin มีคุณสมบัติช่วยให้คอเลสเตอรอลและน้ำ (เลือด) รวมตัวกันได้ดีขึ้น ทำให้คอเลสเตอรอลไม่จับตัวเป็นก้อนเกาะตามผนังหลอดเลือดจนเกิดการอุดตัน ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น นอกจากนี้ เลซิตินยังมีส่วนช่วยลดการดูดซึม และเพิ่มการขับถ่ายคอเลสเตอรอลทางอุจจาระ และช่วยเพิ่มสัดส่วนของ HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี ที่มีหน้าที่นำพาไขมันที่สะสมและอุดตันตามผนังเส้นเลือดกลับไปทำลายที่ตับ
ประโยชน์อื่น ๆ ของ Lecithin
- ป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี เนื่องจากเลซิตินช่วยป้องกันการตกตะกอนของคอเลสเตอรอลในเลือด จึงป้องกันการจับตัวกันของไขมันเป็นก้อนนิ่ว
- เลซิตินช่วยให้ร่างกายสามารถนำวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามิน เอ ดี อี และ เค ดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยควบคุมน้ำหนักของร่างกาย เพราะเลซิตินจะช่วยให้ไขมันกระจายตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ทำให้ร่างกายจะเผาผลาญไขมันเหล่านี้ได้ดีขึ้น
อาการเมื่อรับประทานเลซิตินมากเกินไป
แม้ว่าเลซิตินจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย แต่การรับประทานเลซิตินที่มากเกินไป ก็อาจเกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายหลั่งออกมาก เบื่ออาหาร เหงื่อออกมาก เป็นต้น
ขนาดรับประทานที่แนะนำ
- เพื่อบำรุงสมองและความจำ
วันละ 1,200 - 3,600 มิลลิกรัม
- เพื่อบำรุง และลดการทำลายเซลล์ตับ
วันละ 2,400 - 3,600 มิลลิกรัม
- เพื่อลดและควบคุมคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคสมองและหัวใจขาดเลือด
วันละ 3,600 - 7,200 มิลลิกรัม
วันละ 1,200 - 3,600 มิลลิกรัม
วันละ 2,400 - 3,600 มิลลิกรัม
วันละ 3,600 - 7,200 มิลลิกรัม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น