ขมิ้นชัน (Turmeric) - คุณประโยชน์มากมายจากงานวิจัยทั่วโลก

     

ขมิ้นชัน ( Curcuma Longa Linn.) 

     เป็นพืชจำพวกเหง้า สูง 50-70 cm. ใบรูปหอกปลายแหลม ก้านใบแคบมีร่องเล็ก ๆ  สีเขียวอมน้ำตาล ดอกช่อใหญ่ พุ่มมาจากเหง้าใต้ดิน เนื้อในเหง้ามีสีส้ม กลิ่นฉุน เกิดในภูมิภาคเขตร้อนทั่วไป

     สารสำคัญที่พบ

     Volatile oil 3-4% สารสีเหลือง เป็นสารจำพวก Diferuloyl methane มีชื่อว่า Curcumin, Monodeamethexy curcumin, Didesmethoxy curcumin น้ำมันหอมระเหยพบสาร p-Tolymethyl carbinol ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำดี

     ข้อมูลทางเภสัชวิทยา

     - นำสารสกัดที่ได้จากขมิ้นชันฉีดเข้าไปในสัตว์ทดลอง พบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านเนื้องอก มะเร็งปากมดลูก และมีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งและเนื้องอก ไม่ให้มีการขยายตัวได้
     - น้ำมันระเหยของขมิ้นชันสามารถต่อต้านเชื้อ Staphylococcus เชื้อในลำไส้ใหญ่ Culumbacillus และเชื้ออหิวาต์ได้
     - นำขมิ้นชันให้สัตว์ทดลองก่อนพบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นกระเพาะอาหาร และลำไส้ของสัตว์ทดลองให้เกิดการบีบตัว จึงนิยมนำมาใช้ในการขับลม แก้ปวดท้อง และแก้ปวดลำไส้ได้

     ประโยชน์และงานวิจัยทางด้านการแพทย์


1. ระบบทางเดินอาหาร

     ขมิ้นชันช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการขับลมในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร และฤทธิ์บำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบจากสารพิษอีกด้วย






2. ระบบผิวหนัง

     ผลการทดลองทางเภสัชวิทยาพบว่า สารเคอร์คิวมิน ที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเสื่อมของผิวหนัง และช่วยลดอาการอักเสบจากกลไก Hypoxanthine oxidase ที่กระตุ้นการหลังสาร Superoxide hydrogen และกลไก Peroxide production ที่เป็นสารที่ทำลายเซลล์ผิวหนัง จึงนิยมใช้ภายนอก และรับประทานเพื่อช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย



3. ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งหลายชนิด

     ขมิ้นชันมีบทบาทในการป้องกันมะเร็ง โดยออกฤทธิ์ที่เอนไซม์ระยะหนึ่งและสอง ( Phase I and II Carcinogen - Metaboizing Enzymes) ในการทำงานของสารเหนี่ยวนำเซลล์มะเร็ง อีกทั้งสารเคอร์คิวมินจากขมิ้นชันยังมีฤทธิ์ยับยั้ง และทำลายมะเร็งของมนุษย์ได้หลายชนิด เช่น มะเร็งตับ ( Liver cancer), มะเร็งเม็ดเลือดขาว (T-cell Leukemia), มะเร็งปอด (Lung cancer), มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder cancer), มะเร็งผิวหนัง (Skin cancer) เป็นต้น


4. ลดโคเลสเตอรอลในเส้นเลือด

     มีรายงานการศึกษาหลายฉบับ ยืนยันว่าขมิ้นช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดร้าย ( LDL-Cholesterol) และยังช่วยเพิ่มระดับของโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL-Cholesterol) โดยการทดลองรับประทานขมิ้นชันในขนาด 500 มก. ที่ศูนย์วิจัย Amala Cancer ประเทศอินเดีย เมื่อเวลาผ่านไป 7 วัน พบว่า HDL เพิ่มขึ้น 29% และโคเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ลดลง 11.6%


5. ภาวะหัวใจ และหลอดเลือด ( Cardiovascular Diseases )

     สารเคอร์คิวมิน มีความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง จากงานวิจัยในหนูทดลองพบว่าสารเคอร์คิวมินนี้ ช่วยลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ



6. ระบบสมอง ป้องกันอัลไซเมอร์

     ในทำนองเดียวกับการช่วยภาวะหัวใจและหลอดเลือด สารเคอร์คิวมินซึ่งมีความเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีบทบาาทในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ หรือภาวะสมองเสื่อมได้



7. ต้านการอักเสบในโรคข้อเข่าเสื่อม

     กลุ่มสารเคอร์คูมินอยด์ ( Curcuminoids) ในเหง้า ช่วยต้านอาการอักเสบอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูง จากการวิจัยแบบ Randomized controlled open label study พบว่า ขมิ้นชัน 500 มก. วันละ 4 ครั้ง เปรียบเทียบกับ Ibuprofen 400 มก. วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันนาน 6 สัปดาห์ มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมได้ไม่แตกต่างกัน


8. ช่วยต้านการทำงานของ Human immunodeficiency virus ( HIV, AIDS virus )

     มีรายงานการวิจัยการใช้ขมิ้นชันในการรักษากับผู้ป่วย HIV พบว่ามีส่วนช่วยรบกวนวงจรการแพร่กระจายของเชื้อ ทั้งนี้เป็นการศึกษาในเบื้องต้น และต้องทำการติดตามการรักษามากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ในรายงานหวังว่าขมิ้นชันจะมีบทบาทในการรักษาเชื้อ HIV




ขนาดการรับประทานที่เหมาะสม

     รับประทานครั้งละ 500-1,000 มก. วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

ข้อห้ามใช้

     ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีการอุดตันของท่อน้ำดี หรือผู้ที่แพ้ขมิ้นชัน ( Hypersensitivity )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น